วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

10 เรื่องน่ารู้เกียวกับประเทศไทย
สิ่งหนึ่งที่ฝรั่งมังค่าเขาแนะนำต่อกัน ๆ มา นอกจากรอยยิ้่มแดนสยาม ถนนข้าวสาร อาหารรสเผ็ดร้อน และสาวฮอตเมืองพัทยาแล้ว คงเป็น 10 เรื่องต่อไปนี้ ที่แม้คนใหญ่ส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ หรืออาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเทศเรามีเรื่องราวแบบนี้ด้วย แต่ขอบอกว่าฝรั่งเขาตื่นเต้นที่ได้พบเจอมาเลยหล่ะพวกเธอว์

ชื่อเมืองหลวงที่ยาวที่สุดในโลก 
คงไม่มีชื่อเมืองหลวงไหนยาวเท่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิตย์ สักกะทิตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือแปลเป็นภาษาปะกิตก็ "City of angels, great city of immortals, magnificant city of the nine gems, seat of the king, city of roal palaces, home of gods incarnate, elected by Visvakarman at Indra's behest." ซึ่งไม่ว่าจะแบบไหนก็ยาวอยู่ดี และคงเป็นการยากที่จะให้ฝรั่งเขาจำชื่อยาวๆ แบบนี้ได้ แถมยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยไม่รู้และไม่แคร์ที่จะรู้ชื่อเต็มๆ ของเมืองหลวงประเทศตัวเองซะด้วย


มีวัดอยู่ทุกที่ไม่เว้นแม้แต่บนเหรียญ 
อย่างที่ได้มีการโปรโมทท่องเที่ยวไปนั่นแหล่ะครับ ว่าประเทศไทยเนี่ยมีวัดเยอะมาก และแม้ว่าฝรั่งส่วนใหญ่จะไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมาเที่ยววัดไทยซะทุกคน แต่ทุกคนล้วนมีความสงสัยกับภาพวัดบนเหรียญเสมอว่า "มันคืออะไร?" ซึ่งเรื่องนี้แม้แต่คนไทยกันเองก็อาจไม่ทราบเหมือนกัน ว่าภาพวัดที่ปรากฏบนเหรียญบาทคือวัดพระแ้ก้ว ภาพบนเหรียญสองบาทคือวัดภูเขาทอง วัดบนเหรียญห้าบาทคือวัดเบญจมบพิตร และวัดบนเหรียญสิบบาทคือวัดอรุณราชวราราม




เมืองร้อนอันดับต้นๆ 
อันนี้ไม่ต้องฝรั่งการันตี เพราะคนไทยกันเองยังรู้สึกได้ว่าประเทศนี้ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะว่าไปก็เป็นเรื่องดีสำหรับฝรั่งที่อยากได้ผิวสีแทนในราคาประหยัด เพราะไม่ต้องถ่อไปชายทะเลไกลๆ ที่ไหน แค่ทะเลเมืองไทยหรือแม้แต่ในกรุงเทพก็สามารถทำให้นักเที่ยวทั้งหลายผิวแทนได้เหมือนกัน




ประเทศไทยมีเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนฉายภาพยนตร์ 
นอกจากเพลงชาติที่นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหลายสามารถยืนตรงพร้อมกับคนไทยโดยไม่ต้องมีสัญญาณบอกแล้ว ยังมีเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เปิดก่อนฉายภาพยนตร์ด้วย ซึ่งฝรั่งที่เพิ่งมาเมืองไทยครั้งแรกในชีวิตอาจไ่ม่เข้าใจว่า "นี่คืออาร๊าย ทามม๊ายต้องยืน" แต่หลังจากได้ฟังเหตุผลแล้ว ทุกคนล้วนแต่รู้สึกว่าเพลงที่เปิดนี้มีความหมายว่าอะไร และทำไมจึงต้องยืน


กฎหมายตลกๆ 
อย่าว่าแต่เราที่แอบขำกฎหมายบ้านเขา ฝรั่งเขาก็แอบตลกกับกฎหมายบ้านเราเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้ามออกจากบ้านโดยสวมชุดชั้นใน ห้ามเปลือยอกขับรถยนต์ หรือกฎที่ระบุว่าทุเรียนเป็นอาวุธอีกด้วย แถมยังมีกฎหมายตลกๆ สำหรับต่างชาติ แต่ไม่ตลกสำหรับคนไทย นั่นคือ การก้าวข้ามเหรียญหรือธนบัตรที่มีรูปพระมหากษัตริย์
มีห้องน้ำสำหรับเพศที่สาม 
ถึงประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศแรก แต่ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีห้องน้ำที่ใส่ใจสุขภาพจิตของคนประเภทนี้เป็นพิเศษแม้จะหายากสักหน่อย และส่วนใหญ่มักอยู่ในสถานที่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยได้เข้าไปสัมผัสก็ตามที



คำว่า "สวัสดี" เริ่มเป็นที่แพร่หลายกันในปี ค.ศ. 1930
ก่อนหน้านั้น ฝรั่งส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคำทักทายของไทยคือ "Gin kaow leaow ruu yang?" จนต้องเริ่มทำความเข้าใจกันใหม่หมดว่าคำทักทายของคนบ้านเราน่ะ ที่จริงมันต้อง "Sawadee Khrap/Kaa" ต่างหาก แต่กว่าจะสามารถสื่อสารให้ชาวโลกเข้าใจตรงกันได้ ก็ใช้เวลาหลายปีอยู่เหมือนกัน




กระทิงแดงเป็นเครื่องดื่มชูกำลังของไทย 
กระทิงแดง หรือ Red Bull น่าจะเป็นแบรนด์ไทยไม่กี่ชิ้น ที่สามารถโด่งดังในต่างแดนได้ ซึ่งน่าเศร้าเหมือนกันที่คนไทยจำนวนหนึ่งมองว่ามันเป็นแค่แบรนด์บ้านๆ ธรรมดาๆ ที่คนขับรถบรรทุกซื้อกินเวลาทำงาน ในขณะที่ชาวต่างชาติจำนวนมากไม่คิดว่านี่เป็นแบรนด์ไทยแท้ด้วยซ้ำ


ไชน่าทาวน์และพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
พูดไปคงไม่มีใครเชื่อว่า เยาวราชนี่แหล่ะคือไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าของนิวยอร์คหรือที่ไหนๆ ในโลกที่คนไทยจำนวนหนึ่งใฝ่ฝันที่จะไปเหยียบสักครั้งในชีวิตด้วยซ้ำ แถมยังคงความเป็นไชน่าทาวน์ในแบบที่นานาประเทศไม่มีอีกด้วย และที่สำคัญไชน่าทาวน์แห่งสยามประเทศนี้ ยังมีพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามที่หนักถึง 5 ตันครึ่งเลยทีเดียว


ไทยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวัีนออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร 
ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่เหมือนกันว่าตกลงแล้วเราโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ที่ไม่เคยเสียเอกราชให้ชาติใดมาก่อน แต่สำหรับชาวต่างชาติผู้เคยมีบรรพบุรุษเป็นนักล่าอาณานิคมแล้ว เขากลับชื่นชมประเทศเล็กๆ ของเรามาก ที่สามารถเอาตัวรอดจากความวุ่นวายในยุคนั้นมาได้

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

เกี่ยวกับไทยนะรู้ยัง

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิอากาศ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี

จำนวนประชากร
จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ 1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี 3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย 4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต 5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ขนาดพื้นที่
ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง

เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ประชากร
จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ 1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี 3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย 4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต 5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ภาษา
ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป

การปกครอง
ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ

อุณหภูมิ
ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส



ระบบเศรษฐกิจ
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

เงินตรา
ใช้สกุลเงินบาท (1 บาท มี 100 สตางค์) มีธนบัตรชนิด 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท และมีเหรียญชนิด 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท